ระบบระบายน้ำมี 2 แบบคือ
1. ระบบท่อรวมท่อระบายน้ำจะรองรับทั้งน้ำฝนและน้ำเสียจากชุมชนและอุตสาหกรรม (รวมน้ำทิ้งและน้ำโสโครกจากส้วม) เพื่อส่งต่อไปยังระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อบำบัดก่อนปล่อยคืนสู่แม่น้ำ ข้อดี – ค่าลงทุนวางท่อต่ำกว่าระบบท่อแยก ข้อเสีย – ระบบบำบัดน้ำเสียมีขนาดใหญ่ขึ้นและใช้ค่าลงทุนสูง เนื่องจากน้ำเสียที่เข้าระบบบำบัดมีปริมาณมาก – เวลาฝนตกหนักปริมาณน้ำในท่อมากเกินจนบำบัดไม่ทันก็จะต้องปล่อยน้ำส่วนที่ล้นออกสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำที่มีน้ำเสียปะปนถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
2. ระบบท่อแยกเป็นระบบระบายน้ำที่แยกท่อระบายน้ำฝนและน้ำเสียออกจากกัน ท่อระบายน้ำฝนจะรับเพียงน้ำฝนอย่างเดียวแล้วระบายออกสู่แม่น้ำโดยตรงโดยไม่ผ่านการบำบัด ส่วนน้ำเสียจะผ่านอีกท่อหนึ่งไปเข้าระบบบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แม่น้ำ ข้อดี – ระบบบำบัดน้ำเสียมีขนาดเล็กกว่าระบบท่อรวม เนื่องจากจะมีเฉพาะน้ำเสียในระบบบำบัดเท่านั้น – ไม่มีน้ำเสียเอ่อล้นหรือถูกระบายลงคูคลอง ในกรณีที่ฝนตกหนักจนทำให้น้ำท่วม ข้อเสีย – ค่าลงทุนวางท่อสูงกว่าระบบท่อรวม
อย่างไรก็ดีประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ที่มีระบบระบายน้ำเสียเทศบาลเพียง 77%2 ซึ่งต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วเช่นอังกฤษ3 ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่ไม่มีท่อระบายน้ำเสียเทศบาลจะต้องติดตั้งบ่อเกรอะสำหรับบำบัดน้ำทิ้งครัวเรือนและน้ำโสโครกก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นระบบระบายน้ำเสียเทศบาลหรือบ่อเกรอะที่ญี่ปุ่น เราสามารถทิ้งกระดาษชำระลงในชักโครกได้เลย เนื่องจากเส้นใยกระดาษถูกออกแบบมาให้เปื่อยยุ่ยได้ง่าย แต่ก็ต้องระวังทิ้งเพียงกระดาษชำระสำหรับใช้ในห้องน้ำเท่านั้น ห้ามทิ้งกระดาษทิชชูแบบเช็ดหน้าเนื่องจากเปื่อยยุ่ยยากจนอาจทำให้ท่อตันได้
ขอขอบคุณที่มา : https://japan1616.wordpress.com/2014/10/09/sewer-system/
สาระน่ารู้ 相關的其他人