5 ข้อปฏิบัติในการดูแลถังบำบัดน้ำเสีย
1. ไม่ควรทิ้งผ้าอนามัยหรือสิ่งอื่นใดลงในโถส้วม เพราะวัสดุเหล่านี้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ยาก จะทำให้บ่อเกรอะเต็มเร็วกว่าปกติและทำให้ ท่ออุดตันได้
2. ระยะเวลาในการสูบบ่อเกรอะแต่ละครั้ง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของวิศวกรหรือผู้เลือกใช้ แต่กระนั้นก็ตาม ผู้ใช้ควรสูบบ่อเกรอะทุกๆ 1 - 2 ปี แม้ว่าบ่อเกรอะจะยังไม่เต็มก็ตาม เพื่อให้บ่อเกรอะมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีอยู่เสมอและยังเป็นการป้องกันไม่ให้ตะกอนเข้าไปสะสมที่บ่อกรองไร้อากาศด้วย
3. ตัวถังพลาสติกที่ใช้ในบ่อกรองไร้อากาศ ไม่ต้องมีการดูแลรักษาแต่อย่างใด (Free Maintenanceและถ้าสูบบ่อเกรอะทุก 1 - 2 ปี ตะกอนสะสมในบ่อกรองจะน้อยลง ทำให้บ่อหรองไม่เต็มเร็ว และไม่ต้องสูบเลยเป็นเวลานานหลายปี
4. นอกจากการหมั่นดูแลการไหลของน้ำแล้ว ว่าน้ำไหลเป็นปกติหรือไม่ มีการติดขัดหรือไม่ซึ่งส่วนมากการไหลติดขัดอาจจะเกิดจากมีวัสดุชิ้นใหญ่อุดตามท่อหรือเป็นเพราะท่อทรุดตัว เป็นต้น ให้พิจารณาแก้ไขเป็นกรณีไป
5. ในกรณีที่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ เช่นเครื่องสูบน้ำ เครื่องเป่าอากาศ เป็นต้น ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตของอุปกรณ์นั้น
1. เกิดกลิ่นบริเวณที่ติดตั้ง อาจเกิดจากการต่อท่อระบายอากาศไม่เหมาะสม แก้ไขโดย ต่อท่อระบายอากาศให้พ้นอาหารหรือหลังคาในระดับที่มีการหมุนเวียนถ่ายเทอากาศได้สะดวกท่อระบายอากาศแตกทักชำรุด หรือฝาถังปิดไม่สนิท แก้ไข้โดย ทำการซ่อมแซมแก้ไข หรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพเดิมน้ำทิ้งตกค้างอยู่ในรางระบายเป็นเวลานานแก้ไขโดย ปรับปรุงรางระบายน้ำ ให้สามารถระบายน้ำได้โดยสะดวก
2. น้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดมีกลิ่นและไม่ใส เนื่องจากประสิทธิภาพของถังลดลงอาจจะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้มีคนใช้มากกว่าขนาดถังที่สามารถรองรับได้แก้ไขโดย การเพิ่มจำนวนถัง หรือ จำกัดจำนวนคนใช้ในช่วงเวลานั้นๆการใช้สารเคมีในการล้างห้องน้ำแก้ไขโดย ลดปริมาณการใช้สารเคมีในการล้าง และควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
3. ส้วมอืดหรือชักโครกกดไม่ลง อาจจะเกิดจากกากปฏิกูลเต็ม หรือระบายอากาศไม่ดีแก้ไขโดย ให้รถเทศบาลสูบกากออกจากช่องเกรอะ และตรวจสอบท่อระบายอากาศให้สามารถระบายอากาศได้การอุดตันของขยะ และเศษวัสดุชิ้นใหญ่ในท่อแก้ไขโดย ใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกเหลาพองอได้ สอดแยงตามท่อน้ำเสียหรือตามท่อ Floor
ข้อควรระวัง
ต้องเติมน้ำใส่ถังบำบัดหรือถังเก็บน้ำให้เต็มในระดับเดิมหลังจากทำการสูบกากตะกอนหรือล้างถังเสร็จ
สาระน่ารู้ 相關的其他人