1.ประชาชนยังยึดติดกับการแก้ไขปัญหาขยะแบบเดิมๆ สถานที่มีกลิ่นเหม็น สกปรกไม่น่าชวนมอง จนทำให้ไม่มีใครยอมที่จะให้มีการสร้างโรงกำจัดขยะในบริเวณใกล้เคียงกับที่ตนเองอยู่อาศัย เนื่องจากว่าก็ยังไม่มีที่ใดในประเทศไทย มีระบบจัดการขยะที่ประสบความสำเร็จ สะอาด สถานที่น่าชวนมองอย่างที่ไปดูงานที่ต่างประเทศปัญหาขยะในเมืองไทย เป็นปัญหาโลกแตก เป็นเวลาหลายสิบปีที่เจ้าหน้าที่ทางราชการ หน่วยงานวิจัย สถาบันทางการศึกษา พยายามหาหนทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะล้นเมือง ไม่มีที่ใดยอมให้ก่อสร้างโรงกำจัดขยะใกล้ที่อยู่อาศัยของตนเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆที่เสียงบประมาณตั้งมากมายพาเจ้าหน้าที่ไปดูงานที่ต่างประเทศ ใช้งบประมาณในการรณรงค์ให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ มีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถจะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ แต่ปัจจุบันยังไม่มีที่ไหนในประเทศไทย สามารถจัดการขยะได้อย่างครบวงจรเป็นที่พึงพอใจของคนทุกฝ่าย เพื่อให้ง่ายสรุปได้เป็นข้อๆดังนี้
2.เทศบาลไม่มีแหล่งกำจัดขยะเนื่องจากสาเหตุข้อแรก เพราะไม่รู้ว่าจะชี้แจงยังไงให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจ จึงต้องนำขยะไปทิ้งในพื้นที่ห่างไกล นอกพื้นที่ ในป่า สถานที่รกร้าง สร้างปัญหาให้กับชุมชนในพื้นที่นั้นๆตามมา
3.ทุกคนยังมองไม่เห็นคุณค่าของขยะเพราะว่ามีมูลค่าเล็กน้อย ไม่ทราบว่าขยะบางชนิดมีมูลค่า เมื่อแยกขยะแล้วจะไปขายที่ไหนหรือมีวิธีใดบ้างที่จะจัดการขยะได้โดยเปลี่ยนให้เป็นรายได้เข้ามา
4.เนื่องจากทางภาครัฐยังไม่มีสถานที่และวีธีการที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาขยะ มีการกำจัดขยะที่สามารถรองรับการแยกขยะได้ จึงทำให้โครงการรณรงค์ให้ประชนคัดแยกขยะ ไม่ประสบความสำเร็จ เป็นเพียงแค่ไฟไหม้ฟางในช่วงต้นๆ แต่เมื่อประชาชนคัดแยกขยะแล้วกลับไม่มีการเก็บขยะแบบแยก เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะเศษอาหารถูกเก็บนำไปปนกับขยะทั่วไปเช่นเดิม
5.การหาวิธีการจัดการขยะยังไม่ลงลึกเพียงพอในการแก้ไขปัญหาขยะตามสถุานที่อยู่อาศัยที่ต่างๆกัน บ้านเรือน ตลาดสด อาคารพาณิชย์ โรงเรียน อาคารสูงอย่างโรงแรมและคอนโดมิเนียม ชมชนชนบท บางที่สามารถกำจัดขยะได้ด้วยตัวเอง บางที่ทำได้เพียงแยกขยะ ทำให้แต่ละที่จะต้องมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน เราสงเสริมให้ประชาชนทำปุ๋ยจากขยะ แต่ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูง อาคารพาณิชย์ ไม่รู้ว่าจะเอาปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเพราะไม่ได้มีพื้นที่ปลูกพืช นี่เป็นตัวอย่างชี้ให้เห็นอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นเด่นชัดถึงการใช้วิธีจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสมกับสถานที่
6.เทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะ สามารถกำจัดขยะได้เฉพาะขยะแยกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการทำปุ๋ยหมักจากขยะ การทำก๊าซชีวภาพจากขยะเศษอาหาร การนำขยะมาเผาเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่ขยะที่เข้าสู่กระบวนการกำจัดยังไม่ได้แยกอย่างสมบูรณ์ ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวประสบปัญหาในการดำเนินการ
7.การขัดผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ฝังกลบขยะ โครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาระบบกำจัดขยะจึงถูกระงับ ถูกต่อต้านจากชุมชนโดยมีผู้มีอิทธิผลที่เสียผลประโยชน์หนุนอยู่ภายหลัง
จากสาเหตุหลักๆเหล่นนี้ทำให้การแก้ไขปัญหาขยะ ยังคงไม่มีความคืบหน้าและก่อให้เกิดปัญหาหนักขึ้นทุกวัน ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหาขยะจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน แนวทาง วิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ที่มีสถานที่แตกต่างกัน ใช้ลักษณะเด่นของแต่ละพื้นที่มาแก้ไขปัญหาเรื่องขยะ อย่างเช่น
1.ในชุมชนที่ห่างไกลจากตัวเมือง มีพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตร เป็นชุมชนที่มีความต้องการปุ๋ยหมักจากขยะเพราะต้องใช้ในการเพาะปลูก การใช้ปุ๋ยหมักจากขยะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งน่าจะมีการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อทำโครงการปุ๋ยหมักจากขยะสด ขยะเศษผักเศษอาหาร เพื่อความยั่งยืนในการทำการเกษตร และเป็นการช่วยภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะ
2.ในชุมชนเมืองใหญ่ มีปริมาณขยะเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตลาดสด ตลาดค้าส่งสินค้าเกษตร เป็นแหล่งผลิตขยะที่สามารถย่อยสลายได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งขยะที่ว่านี้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาผลิตปุ๋ยหมักเนื่องจากมีการเจือปนของขยะชนิดอื่นเช่นพลาสติก กระดาษ ขวดแก้ว น้อย หากมีการทำข้อตกลงร่วมในการส่งขยะที่คัดแยกแต่เศษผักเศษอาหารให้กับกลุ่มเกษตรกร ก็จะสามารถทำขยะที่เคยเป็นปัญหา เป็นประโยชน์ขึ้นมาได้
3.การจัดพื้นที่ให้มีการรับซื้อขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ ประจำเดือนตามชุมชนต่างๆ โดยขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการค้าของเก่า เริ่มต้นโดยการะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบถึงราคาที่รับซื้อของขยะชนิดต่างๆ สถานที่รับซื้อ และวันเวลาที่จะมารับซื้อเป็นประจำ วีธีการนี้จะทำให้ผู้ค้าของเก่ามีผู้ใช้บริการมากขึ้น มีปริมาณขยะที่จะนำส่งโรงงานรีไซเคิลได้มากขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้นจากการแยกขยะและเก็บสะสมขยะเพื่อจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในภาวะที่ข้าวของทุกอย่างมีราคาแพง
4.บ้านที่อยู่อาศัย มีบริเวณบ้านที่เป็นสวน สามารถแยกขยะเศษอาหารกำจัดเองได้ โดยทำบ่อฝั่งย่อยสลายเสษอาหารได้ ทำให้ขยะที่จะทำการกำจัด ไม่มีขยะเศษอาหารปนอยู่ ไม่เกิดกลิ่นเหม็น ทำให้การแยกขยะเพื่อรีไซเคิลทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ การแยกขยะที่ต้นทางสามารถทำได้ดีกว่าการแยกขยะที่ปลายทาง
5.ผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารสูงอย่าง อาคารพาณิชย์ ตึกแถว หอพัก คอนโดมิเนียม ผู้ที่อยู่อาศัยประเภทนี้ไม่สามารถกำจัดขยะด้วยตัวเองได้ เนื่องจากข้อกำจัดในพื้นที่ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารประเภทนี้ ทำได้เพียงแยกขยะระหว่างเศษอาหาร ขยะทั่วไปที่สามารถรีไซเคิลได้และไม่สามารถรีไซเคิลได้ ทางเทศบาลหากสามารถกำจัดแบบแยกประเภทได้ มีการทำปุ๋ยจากเศษอาหาร อาจจะทำการเก็บขยะแบบแยกประเภท เช่น แยกสีถุง ขยะที่ย่อยสลายได้แยกถุงเป็นอีกสีหนึ่งเพื่อเทศบาลจะได้แยกจัดเก็บเพื่อไปทำปุ๋ยต่อไป ส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ จะแยกเก็บเป็นถุงดำเพื่อนำไปคัดแยกหรือกำจัดต่อไป
6.การเริ่มทำการกำจัดแบบคัดแยก อาจะเริ่มโดยจำกัดพื้นที่ก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเริ่มต้นประชาสัมพันธ์ อย่างเช่น การขอความร่วมมือกับ ตลาดสดแห่งใดแห่งหนึ่งก่อนเพื่อขอขยะที่คัดแยกเฉพาะเศษผักเศษอาหารเพื่อใช้ในการทำปุ๋ย โรงแรมแห่งใดแห่งหนึ่งเพื่อให้มีการคัดแยกขยะ ให้ห้องพักทุกห้องมีถึงขยะแยกประเภทระหว่างขยะรีไซเคิลและขยะทั่วไปเพื่อรอกำจัด หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งที่จะมีการเก็บขยะแบบแยกประเภท เกษตรกรกลุ่มหนึ่งพื่อทำปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มต้นในจุดเล็กๆสำเร็จย่อมจะเป็นตัวอย่างในการดูงานให้กับพื้นที่อื่นๆที่จะนำมาเข้าร่วมโครงการต่อไป
ประเภทของขยะ ที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี 4 ประเภท ได้แก่
ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทาน และการประกอบอาหาร สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46 %
ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 42 %
ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล เช่น ซองบะหมี่สำเร็จรูป เปลือกลูกอม ถุงขนม ถุงพลาสติก จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด ประมาณ 9 %
ขยะพิษ หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น กระป๋องยาฆ่าแมลง หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด มีอยู่ประมาณ 3 %
การใช้ประโยชน์จากขยะ
ขยะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านมลพิษทางน้ำ กลิ่น การแพร่กระจายของโรค การเกิดเพลิงไหม้จากการสะสมของแก๊สในขยะ ตลอดจนทำลายทัศนียภาพที่สวยงาม ปัจจุบันเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร จะประสบกับปัญหาอันเนื่องมาจากขยะเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถกำจัดขยะได้หมดในเวลาอันรวดเร็ว จึงเกิดสะสมเพิ่มขึ้นทุกวัน ถึงแม้จะมีการเร่งรัดการเก็บและกำจัดขยะ รวมทั้งนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ก็ไม่ทันกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในปัญหาดังกล่าวที่มีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม จึงได้พระราชทานแนวทางการศึกษาการกำจัดขยะแบบครบวงจรตามพระราชดำริ ด้วยการแบ่งพื้นที่ฝังกลบขยะออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก ให้ใช้แก๊สจากขยะให้หมดก่อน จากนั้นนำขยะไปร่อนแยกส่วนประกอบ แล้วนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง เถ้าถ่านที่เกิดขึ้นนำไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมอัดเป็นแท่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ต่อไปได้ เมื่อพื้นทีสวนแรกว่างลงก็สามารถนำขยะมาฝังกลบใหม่ได้
ส่วนที่สอง ขณะที่ดำเนินการร่อนแยกขยะในพื้นที่ส่วนแรก ก็ใช้ประโยชน์จากแก๊สควบคู่กันไปก่อนเมื่อแก๊สหมดแล้ว จึงดำเนินการลักษณะเดียวกันกับที่ได้ดำเนินการในพื้นที่ส่วนแรก ซึ่งถ้ากระทำได้อย่างต่อเนื่องโดยจัดเวลาให้เหมาะสมก็จะทำให้มีพื้นที่ฝั่งกลบขยะหมุนเวียนตลอดไป
นอกจากนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินจากมูลนิธิชัยพัฒนา จัดตั้งเป็นกองทุนบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อดำเนินการโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแก็สหลุมขนาด 650 กิโลวัตต์ ศึกษาวิธีการคัดแยกและนำขยะไปเผา ตลอดจนนำความร้อนที่ได้มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งการศึกษาวิธีการนำเถ้าขยะไปผสมกับวัสดุที่เหมาะสมบางชนิด เพื่อใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ขณะนี้มีหลายหน่วยงานได้ร่วมกันศึกษา ค้นคว้า และจัดวางโครงการเพื่อใช้ประโยชน์จากขยะตามแนวพระราชดำริ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นอย่างยิ่ง
ตัวอย่างโครงการที่เห็นผลชัดเจน ได้แก่ โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี เริ่มต้นด้วยการสร้างท่อระบายเพื่อรวบรวมน้ำเสียในเขตเทศบาล ณ จุดนี้ทำหน้าที่เป็นบ่อดักขยะ ถุงพลาสติก เศษพืช และตะกอนแขวนลอยออก เพื่อลดความสกปรก จากนั้นน้ำเสียจะไหลเข้าท่อระบายตามระบบน้ำล้นไปสู่บ่อบำบัดหลัก ได้แก่ บ่อตกตะกอน บ่อบำบัด 3 จุด และบ่อปรับคุณภาพน้ำ ก่อนปล่อยลงสู่ป่าชายเลนต่อไป นอกจากนี้ยังมีระบบบ่อบำบัดรอง ซึ่งเป็นระบบบึงชีวะภาพ คือปล่อยน้ำเสียให้ไหลผ่านบ่อดินตื้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 4 บ่อ โดยภายในบึงจะปลูกพืชที่มีรากประเภทกก และอ้อ ซึ่งพืชน้ำเหล่านี้จะช่วยดูดซับสารพิษให้น้อยลงก่อนที่น้ำจะล้นออกจากบึงเป็นน้ำดีที่ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
สาระน่ารู้ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง