ชวนทำความรู้จักหลัก 7R เทคนิคกำจัดและจัดการปัญหาขยะง่าย ๆ ไม่ว่าใครก็ลงมือทำได้ทุกคน เพื่อช่วยลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง และลดปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ระบุว่า ส่วนผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดในประเทศไทยคือ การที่ฤดูหนาวสั้นลง ฤดูร้อนยาวนานขึ้น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล บางพื้นที่เกิดความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำ ขณะที่บางพื้นที่มีพายุรุนแรงจนเกิดน้ำท่วม ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย อีกทั้งยังเกิดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช
นอกจากนี้จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ยังบอกอีกด้วยว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอน และก๊าซไนตรัสออกไซด์ มาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนคือ
1. การมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น
ทุกวันนี้ทั่วโลกมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตามมาหลายด้าน ทั้งการอุปโภคและบริโภคที่สูงขึ้น เช่น เสื้อผ้า อาหาร ไฟฟ้า และน้ำประปา เป็นต้น จนทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังทำให้ก๊าซต่าง ๆ สะสมในชั้นบรรยากาศมากเกินความสมดุลจากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การใช้น้ำมันรถทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่มาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามมานั่นเอง
2. การใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบไม่สิ้นสุด
หลายประเทศทั่วโลกมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงทำให้ความต้องการที่จะใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับความเป็นจริงที่ว่า แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ลดน้อยลงทุกวัน ๆ ที่สำคัญคือ พลังงานเหล่านี้เมื่อผ่านกระบวนการเผาไหม้ ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น จนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนรุนแรงขึ้น
3. การปล่อยก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม
การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม ถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ภาวะโลกร้อนรุนแรงมากยิ่งขึ้นแบบก้าวกระโดด เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างมหาศาล จากรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้พลังงานปี 2561 ระบุว่า ในภาคเศรษฐกิจประกอบด้วย ภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรม และภาคอื่น ๆ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น 260.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.8% จากปี 2560 ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 258.2 ล้านตัน
4. การตัดไม้ทำลายป่า
การตัดไม้ทำลายป่าถือเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดโลกร้อน โดยเฉพาะการขยายตัวของพื้นที่เมือง เพราะต้นไม้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ฉะนั้นในเมื่อมีการตัดไม้ทำลายป่า ย่อมส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมา
5. การจัดการขยะ
ขยะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน เพราะเกือบทุกขั้นตอนของการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้องมีส่วนสร้างก๊าซเรือนกระจก เริ่มตั้งแต่การขนย้าย การเผา ทำลาย การฝังกลบ และการเทกองรวมกันที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน นอกเหนือจากนี้การเผาขยะบางชนิดที่มีสารพิษปนเปื้อน ยังปล่อยมลพิษสู่อากาศ น้ำ และดิน ทำให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งมีชีวิต แถมยังเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย
จากรายงานการสรุปสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 ประเทศไทย มีปริมาณขยะประเภทพลาสติกมากถึง 2 ล้านตัน ซึ่งไม่สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีฝังกลบ ส่วนมากจะนำไปเผาทำลาย แต่ก็สร้างมลพิษให้กับอากาศ ซึ่งการปฏิเสธการใช้ทรัพยากรที่จะสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเพื่อเป็นการลดปริมาณขยะ เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขยะมีพิษ และผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งต่าง ๆ โดยทางออกง่าย ๆ ให้เราเปลี่ยนมาใช้กล่องข้าวที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ถุงผ้ารักษ์โลก กระบอกน้ำแบบพกพาแทน หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ซ้ำ ๆ ซึ่งก็ต้องบอกเลยว่า นอกจากสิ่งของพวกนี้จะช่วยลดปริมาณขยะและมลพิษทางอากาศแล้ว บางครั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันร้านค้าหรือร้านอาหารหลายร้านมีโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าที่นำบรรจุภัณฑ์มาเองนั่นเอง
การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมแทนสินค้าใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะเป็นการช่วยลดขยะหรือบรรจุภัณฑ์ชิ้นใหญ่ ซึ่งใช้ทรัพยากรในการผลิตมากกว่า อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเงินในกระเป๋าไปในตัวด้วย โดยส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ที่มีแบบเติมจะเป็นพวกของใช้ในบ้าน เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า สบู่เหลว แชมพู ครีมนวดผม และถ่านที่สามารถชาร์จได้
การเลือกใช้สินค้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์หมุนเวียน สามารถส่งคืนให้กับผู้ผลิต แล้วนำกลับมาใช้งานต่อได้ เช่น การคืนขวดน้ำอัดลมที่เป็นขวดแก้ว บริษัทที่ผลิตน้ำอัดลมจะนำขวดแก้วกลับไปทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ เพื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เป็นการลดการใช้ทรัพยากร เช่น ทราย พลังงาน และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตแก้ว หรือลดการใช้ขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง
การซ่อมแซมข้าวของเครื่องใช้ที่พังให้กลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง หรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น ใช้ประโยชน์จากสิ่งของให้คุ้มค่า และช่วยลดปริมาณการเกิดขยะไปในตัว เช่น การซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแทนซื้อใหม่ การเปลี่ยนอะไหล่บางชิ้นเพื่อให้ใช้งานได้ต่อ การอัปเกรดส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทนเปลี่ยนเครื่อง และการอุดรูรั่ว หรือรอยร้าวของสิ่งของแทนเปลี่ยนใหม่ เป็นต้น ก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะได้
การช่วยลดขยะอย่างมีประสิทธิภาพอีกอย่างหนึ่งคือ การนำสิ่งต่าง ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จนกว่าจะเสื่อมประสิทธิภาพหรือหมดอายุการใช้งาน โดยมีสโลแกนติดหูว่า “ใช้แล้ว ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่” เช่น การพกถุงผ้าไว้ใช้ใส่ของแทนถุงพลาสติกทุกครั้ง การนำถุงพลาสติกที่ได้มาทำเป็นถุงขยะ การนำกล่องลังที่ได้มาเป็นภาชนะใส่ของ การใช้กระดาษให้ครบทั้งสองหน้า รวมถึงการนำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปบริจาคให้กับคนอื่นที่ต้องการต่อไปด้วย
การนำขยะหรือของเหลือใช้มาแปรรูปผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่จัดอยู่ในประเภทขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และกระป๋องเครื่องดื่ม โดยเราทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรีไซเคิลได้ด้วยการคัดแยกขยะที่บ้าน แล้วนำไปขายที่ธนาคารขยะหรือร้านรับซื้อของเก่า นำไปดัดแปลงเป็นข้าวของเครื่องใช้ หรือไม่ก็นำไปบริจาคให้กับโครงการต่าง ๆ เพื่อเป็นการหมุนเวียนทรัพยากรต่อไป ส่วนตัวอย่างการรีไซเคิล ได้แก่ การนำกล่องนมไปทำเป็นหลังคาบ้าน การนำขวดพลาสติกไปทำเป็นเสื้อผ้าหรือจีวรพระ การนำฝาขวดน้ำพลาสติกไปทำเป็นภาชนะหรือกระถางต้นไม้ และการนำถุงพลาสติกไปทำเป็นบล็อกปูถนน เป็นต้น
การลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็น พร้อมทั้งนำทรัพยากรนั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เป็นการไม่ใช้ของสิ้นเปลืองและไม่กินทิ้งกินขว้างนั่นเอง เช่น การกินอาหารให้หมดเกลี้ยงทุกมื้อ การดื่มน้ำให้หมดเกลี้ยงทุกครั้ง การพกกล่องข้าวติดตัวไว้ใส่อาหารที่กินเหลือ การใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู การใช้กล่องข้าวที่ใช้ซ้ำได้หลายครั้งแทนกล่องโฟมที่ใช้ได้ครั้งเดียว การล้างผัก-ผลไม้ในอ่างแทนการล้างจากก๊อกน้ำโดยตรง การปิดน้ำ-ปิดไฟเมื่อเลิกใช้งานเสมอ การซื้อของซ้ำ ๆ หรือมากจนเกินไป และการลดการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลืองนั่นเอง
มาถึงตอนนี้หลายคนคงจะเห็นแล้วว่า มนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การทิ้งขยะและการใช้พลาสติก ซึ่งก็โชคดีที่เราทุกคนสามารถร่วมด้วยช่วยกันลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้ง่าย ๆ ด้วยการนำหลัก 7R มาใช้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.กัญณภัทร ชื่นวงศ์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.เพ็ญศิริ ประชากิตติกุล สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ สำนักสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
ดร.สุธาทิพย์ สินยัง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร .ธนิตา อารีรบ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
กรมควบคุมมลพิษ
สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
Institute for Global Environmental Strategies
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562
ขอขอบคุณที่มา : https://erc.kapook.com/article11.php
สาระน่ารู้ အခြားသူများနဲ့ဆက်စပ်မှု