เปิดโผ 6 ประเทศต้นแบบเมืองสะอาด น่าเที่ยว เพราะจัดการปัญหาขยะได้ดี จนต้องยกนิ้วให้ มีที่ไหนบ้าง และมาดูกันว่าแต่ละประเทศจัดการขยะอย่างไร
ญี่ปุ่นเป็นประเทศน่าเที่ยวอันดับต้น ๆ ในเอเชีย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลไปใช้ชีวิตช่วงสั้น ๆ อยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น และอาจจะจัดการยาก แต่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับประเทศญี่ปุ่น เพราะมีระบบการจัดการขยะที่ดีมาก เห็นได้จากบ้านเมืองที่สะอาด ไม่มีขยะวางทิ้งไว้ข้างทาง วิธีการจัดการขยะของญี่ปุ่นเริ่มต้นในระดับครัวเรือน มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการทิ้งขยะที่ชัดเจน หากทิ้งขยะไม่ถูกที่ อาจโดนจับหรือปรับได้
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีโรงงานขยะขนาดใหญ่ ที่นำขยะไปเข้ากระบวนการเผาและกระบวนการอื่น ๆ อีกหลายขั้นตอน เพื่อให้ขยะเหล่านั้นก่อมลพิษน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แถมการเผาไหม้ขยะนั้นก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะยังสร้างพลังงานไฟฟ้าที่ทำเงินให้โรงขยะได้อีกต่างหาก ส่วนเถ้าจากการเผาขยะก็สามารถนำไปสร้างเป็นอิฐบล็อกใช้ในงานก่อสร้าง หรือนำไปถมทะเลเพื่อเปลี่ยนสถานที่นั้นให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลสวีเดนจริงจังกับการแก้ปัญหาขยะ และมลพิษที่เกิดจากขยะเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายจะทำให้ขยะภายในประเทศเป็นศูนย์ภายในปี 2563 อีกทั้งออกกฎหมายห้ามเผาขยะ จำกัดการปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตรายอย่างเข้มงวด กำหนดให้นำขยะกลับมาใช้ใหม่แทนการฝังกลบ รวมไปถึงการใช้หลักการจัดการขยะอย่างมีระบบ เพื่อลดจำนวนขยะ หาวิธีการนำขยะกลับไปรีไซเคิลใหม่ และยังนำขยะไปผลิตพลังงาน เช่น การนำขยะเศษอาหารไปทำก๊าซชีวภาพสำหรับเป็นพลังงานให้รถประจำทางในเมือง ส่วนขยะที่นำไปเป็นเชื้อเพลิงได้ ก็จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในประเทศต่อไป
เนเธอร์แลนด์ ยังมีมาตรการจัดการขยะภาคครัวเรือนด้วยการเก็บค่าธรรมเนียม หากบ้านไหนไม่แยกขยะก็จะต้องจ่ายค่าปรับ ซึ่งช่วยให้การจัดการขยะในประเทศเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบมากขึ้น ส่วนการแปรรูปขยะนำไปทำได้หลายอย่าง เช่น นำขยะเศษอาหารไปเป็นพลังงานชีวภาพใช้กับรถขนขยะ ขยะเหลือใช้ก็แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า หรือการนำขยะพลาสติกไปสร้างเลนจักรยานในเมือง Zwolle และเมือง Giethoorn เป็นต้น
ในด้านกฎหมาย ทางรัฐบาลเยอรมนีได้ออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่มีเนื้อหาบังคับให้ผู้ที่ก่อให้เกิดมลพิษต้องจ่ายเงิน ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การจัดการป่าไม้ และสาธารณูปโภค ต้องจัดการขยะอันเกิดจากกระบวนการผลิตของตัวเองอย่างมีบรรทัดฐานเดียวกัน ส่วนขยะที่เข้าไปสู่กระบวนการกำจัดและคัดแยก ก็จะถูกนำไปหมักเป็นปุ๋ยชีวภาพ หรือนำไปแปรรูปเป็นพลังงานใช้ภายในประเทศ
สิ่งหนึ่งที่เรามองเห็นจาก 6 ประเทศต้นแบบในการจัดการปัญหาขยะในประเทศ มักจะมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ภาคประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการแยกขยะ และทิ้งขยะให้ถูกที่ ซึ่งถ้าเราอยากให้ประเทศไทยเป็นเมืองสะอาด มีการจัดการขยะที่ดี ก็เริ่มได้ด้วยการแยกขยะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ดร.กัญณภัทร ชื่นวงศ์ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.เพ็ญศิริ ประชากิตติกุล สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ สำนักสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
ดร.สุธาทิพย์ สินยัง สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์บริการข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 17 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วารสารสิ่งแวดล้อม ปีที่ 22 สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562
ขอขอบคุณที่มา : https://erc.kapook.com/article10.php
สาระน่ารู้ အခြားသူများနဲ့ဆက်စပ်မှု