จากปัญหาการใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่จะเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราทั้งในทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะตัดวงจรอันตรายจากพลาสติกเหล่านี้ เรามาร่วมกันลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมกันเถอะ
เพราะการใช้กล่องโฟมหรือถุงพลาสติกใส่อาหารอาจเป็นความเคยชินจนเราละเลยถึงอันตรายจะเกิดขึ้น แต่จริง ๆ แล้วภายใต้บรรจุภัณฑ์ธรรมดา ๆ นั้น กลับแฝงไปด้วยสารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อีกทั้งกล่องโฟมและถุงพลาสติกยังเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ซึ่งแน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะทางไหน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ และเพื่อลดปัญหาที่ส่งผลกับสิ่งแวดล้อม เราควรรีบตัดวงจรการใช้กล่องโฟมและพลาสติกก่อนที่อันตรายจะย่างกรายมาหาตัว
กรมควบคุมมลพิษเผยว่า ประเทศไทยจัดเป็นประเทศในอันดับต้น ๆ ที่เป็นแหล่งสำคัญที่พบขยะพลาสติกในทะเล โดยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณ 12% ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือปีละประมาณ 2 ล้านตัน ซึ่งขยะพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Singleuse plastic : SUP) เช่น ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก หรือกล่องโฟมบรรจุอาหาร และจากปริมาณขยะพลาสติกทั้งหมด มีจำนวนขยะพลาสติกที่ถูกกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ 0.5 ล้านตัน ส่วนอีก 1.5 เป็นขยะที่ไม่ถูกนำกลับไปทำประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circle Economy) แต่จะถูกนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบ เมื่อมีปริมาณมากขึ้นก็กลายเป็นปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวได้นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า ขยะพลาสติกกลุ่มข้างต้นมีอายุการใช้งานสั้น แต่ใช้เวลาในการย่อยสลายนานเป็นร้อย ๆ ปี หากไม่นำขยะพลาสติกกลับไปรีไซเคิล การทำลายขยะพลาสติกด้วยการเผาหรือฝังกลบก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง เริ่มจากสร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อม หรือที่เห็นกันบ่อย ๆ ก็คือ เศษขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งขว้างตามพื้นถนน กลายเป็นขยะที่ไปอุดตันท่อน้ำ หรือเป็นขยะที่ลอยเคว้งอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง จากนั้นก็ไหลลงสู่ท้องทะเล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ห่วงโซ่อาหาร และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ของท้องทะเลทั่วโลกอีกด้วย
ลองคิดภาพตามเล่น ๆ ดูว่า กว่าจะถึง 450 ปี ถุงพลาสติกในโลกใบนี้จะเพิ่มขึ้นอีกมากแค่ไหน และขอย้ำกันอีกทีว่าโฟมเป็นวัสดุที่ย่อยสลายเองตามธรรมชาติไม่ได้ และหากกำจัดด้วยการเผาทำลายก็จะก่อให้เกิดก๊าซสไตรีน (Styrene) ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพรวมถึงสิ่งแวดล้อม ดังนั้นควรหาวิธีจัดการกับขยะประเภทโฟมอย่างเหมาะสม หรือควบคุมการใช้โฟมไปเลย ส่วนพลาสติกก็ใช้เวลานานถึง 450 ปี ในการย่อยสลาย อีกทั้งพลาสติกยังมีความคงทนย่อยสลายตามธรรมชาติน้อยและยังสามารถทนต่อแรงอัดได้สูง กำจัดยาก แถมยังใช้พื้นที่ในการฝังกลบมากกว่าขยะประเภทอื่น ถ้าหากเราสามารถลดการใช้พลาสติกหรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้ ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีกับปัญหาขยะดังกล่าวไม่น้อย
รู้หรือไม่ว่า กล่องโฟมบรรจุอาหารที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป ทำมาจากวัสดุพอลิเมอร์ชนิดพอลิสไตรีน (Polystyrene) ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เมื่อน้ำมันหรือความร้อนจากอาหารหรือสิ่งที่นำไปบรรจุทำปฏิกิริยากับกล่องโฟม ก็จะทำให้สารสไตรีน (Styrene) จากกล่องโฟมปนเปื้อนมากับอาหารที่รับประทานเข้าไป และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งความน่ากลัวที่ควรระวังก็เพราะว่า...
นอกจากนี้ทั้งโฟมและพลาสติกยังเป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใด ๆ ในรูปแบบโฟมหรือเป็นถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก หรือของใช้ที่ผลิตจากพลาสติกชนิดอื่น ๆ แม้จะเป็นความสะดวกสบาย ใช้ง่าย ราคาถูก แต่ก็อย่าลืมนึกถึงอันตรายและโทษของพลาสติกกันด้วยนะคะ อย่างน้อยลดการใช้พลาสติกหรือโฟม แล้วแยกทิ้งตามประเภทขยะก็ยังดี จะได้นำพลาสติกหรือโฟมไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลได้ และช่วยลดปริมาณขยะที่ย่อย
วิธีลดปริมาณขยะพลาสติกจริง ๆ ทำไม่ยาก ทุกคนสามารถลดขยะพลาสติกได้ทั้งนั้น ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
ถ้าปริมาณขยะพลาสติกลดจำนวนลง ปัญหาที่เกิดจากขยะพลาสติกก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นเริ่มต้นลดปริมาณการใช้พลาสติกกันตั้งแต่วันนี้ หรืออย่างน้อย ๆ ก็เริ่มจากการแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้งก็ยังดีนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมควบคุมมลพิษ
สมาคมพิษวิทยา
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562
สาระน่ารู้ အခြားသူများနဲ့ဆက်စပ်မှု