ระบบบำบัดน้ำเสีย มีส่วนช่วยให้น้ำเสียที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้รับผลกระทบน้อยลง ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน โดยองค์ประกอบของระบบบำบัดน้ำเสียแบบที่เราจะพูดถึงนั้น คือ ระบบบ่อปรับสภาพคงที่ (System Stabilization Pond) ซึ่งเป็นระบบบ่อปรับสภาพน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์บำบัดน้ำเสียอยู่ในธรรมชาติ มีระบบการทำงาน 3 ชนิด
สามารถรับปริมาณสารอินทรีย์ของเสียได้มาก จึงไม่สามารถจะมีออกซิเจนเข้าไปแทนที่ได้ เนื่องจากเป็นระบบที่มีสารอินทรีย์เข้ามาเติมมาก ตะกอนหนักจะลงไปที่ใต้บ่อบำบัด เหมาะกับการบำบัดขั้นต้น (First System) ในช่วงแรกที่น้ำเสียเข้ามาสู่ภายในบ่อ
เป็นการผสมกันระหว่างส่วนที่ใช้อากาศบนพื้นผิวน้ำผสมกับระบบไร้อากาศ คือส่วนผิวน้ำจะมีการระบายและหมุนเวียนของปริมาณอ๊อกซิเจน รวมถึงการสังเคราะห์แสงของพืชใต้น้ำ ปริมาณของจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้อ๊อกซิเจนในการเพาะพันธุ์ใหม่ รวมถึงเป็นแหล่งพลังงานและการดำรงชีวิตให้อยู่รอด โดยจะใช้อ๊อกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของพืชที่อยู่ในระบบน้ำเสีย
เป็นระบบที่ใช้แสงแดดเข้ามาช่วยในการฆ่าเชื้อโรครวมถึงจุลินทรีย์ที่ผสมมากับน้ำทิ้ง ทำให้สภาพของน้ำก่อนปล่อยออกมีประสิทธิภาพดีขึ้น จากการใช้แสงแดดธรรมชาติช่วยเหมาะกับบ่อบำบัดที่ความลึกไม่มาก
เป็นระบบที่มีอ๊อกซิเจนทั่วบ่อ , ความลึกไม่มาก , มีแบคทีเรียและพืชเป็นตัวสังเคราะห์แสง ใช้แสงในการฆ่าเชื้อโรค
ระบบเติมอากาศ (System Aeration) เป็นระบบที่ใช้อ๊อกซิเจนในการเติมอากาศเข้าสู่บ่อโดยอาศัยเครื่องเติมอากาศเข้าช่วย เพื่อให้ปริมาณอากาศในน้ำเข้าไปช่วยจุลินทรีย์ที่กำลังบำบัดหรือย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบบำบัดได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังได้คุณภาพน้ำออกที่ไม่เป็นมลพิษต่อแหล่งน้ำเสียชุมชนและธรรมชาติ เนื่องจากค่าความสกปรกของน้ำลดลงในรูปแบบของค่าบีโอดี BOD ย่อมาจาก Biochemical Oxygen Demand
ประเภทของงานที่เหมาะกับการใช้ระบบเติมอากาศ ได้แก่ อพาร์ทเมนต์ คอนโด โรงแรม โรงเรียน โรงงาน ออฟฟิศ เหมาะกับการบำบัดน้ำเสียที่จำนวนคนเยอะและปริมาณน้ำเสียที่มาก แบ่งช่องการบำบัดสำหรับถังบำบัดแบบเติมอากาศได้ดังนี้
ช่องแรกแยกกากตะกอนหนักของเสีย , ช่องที่สองบำบัดโดยใช้อากาศและหัวเชื้อจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย , ช่องที่สามเป็นการตกตะกอนให้ค่าน้ำมีอุณหภูมิดีขึ้น ปรับสภาพน้ำก่อนปล่อยออกลงสู่บ่อสาธารณะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
ส่วนหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย จะใช้แบคทีเรียที่ใช้อ๊อกซิเจนในการช่วยบำบัดย่อยสลาย เป็นระบบที่ใช้กับปริมาณน้ำเสียค่อนข้างมากพอสมควร ใช้ได้กับทั้งงานบำบัดน้ำเสียจากโรงงาน รวมถึงโรงแรมขนาดใหญ่ ระบบการทำงานประเภท System Activated Sludge มีหลายขั้นตอนเพื่อที่จะให้ได้ค่าน้ำออกมาตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ
วิธีการทำงาน System Activated Sludge กล่าวโดยย่อ ระบบที่ควรให้ความสำคัญคือ ส่วนเติมอากาศ (System Aeration) และส่วนตกตะกอน (System Sedimentation) ปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาขั้นต้นจากการแยกกากตะกอนหรือผ่านระบบไร้อากาศมาก่อนแล้ว จะบำบัดมาถึงส่วนของช่องเติมอากาศ ระบบภายในก็จะมีการบำบัดที่ใช้เครื่องเติมอากาศช่วยจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เปลี่ยนเป็นคาร์บอนไดออกไซด์
ส่งต่อไปยังระบบตกตะกอนเพื่อแยกกากตะกอนปนเปื้อนออกจากน้ำดี ตะกอนจะมี 3 ส่วนที่เหลือคือ ส่วนแรกเป็นตะกอนหนักที่ตกลงสู่ก้นบ่อตกตะกอน ส่วนที่สองตะกอนจะถูกสูบย้อนกลับไปที่ถังเติมอากาศเพื่อเป็นการเลี้ยงเชื้อให้มีอาหารของจุลินทรีย์ในช่องเติมอากาศ และเพื่อให้ได้ค่าที่คำนวณไว้ อ้างอิงจากรายการคำนวณที่วิศวกรออกให้โครงการ ส่วนที่สามกำจัดตะกอนส่วนเกินโดยการสูบออกไปทิ้ง
System Complete Activated Sludge
อาศัยระบบเติมอากาศอัดอากาศเข้าไปผสมกับตะกอนที่อยู่ภายในถังให้เป็นส่วนเดียวกัน สามารถรับน้ำเสียที่เป็นประเภทสารอินทรีย์ได้ค่อนข้างมาก แต่ในทางกลับกัน เครื่องเติมอากาศที่เข้าไปช่วยผสมอัดตะกอนในถังก็ควรมีปริมาณแรงลมในการอัดอากาศให้ทั่วถึง ระบบจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
System Stabilization Activated Sludge
ใช้เป็นส่วนเติมอากาศแยกกัน 2 ส่วน โดยการสูบตะกอนลงมาสู่ถังเติมอากาศส่วนที่ 2 ก่อนเพื่อย่อยสลาย แล้วจึงส่งต่อไปยังส่วนที่ 1 จะมีความเข้มข้นน้อยลงของตะกอนอิงกับปริมาณน้ำเสียที่เพิ่งเข้ามา หลังจากนั้นก็จะทำซ้ำกันอีกรอบ คือบำบัดไปส่วนที่ 2 แยกตะกอนเสร็จสูบกลับไปส่วนที่ 1 และสูบตะกอนไปกำจัด
ระบบบำบัดน้ำเสีย มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมาก เพราะช่วยทำให้น้ำเสียอันจะกลายเป็นมลพิษทางน้ำกลายเป็นน้ำดีก่อนปล่อยทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ ผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่จึงควรให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำเสียเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น แม่น้ำ ทะเล ให้อยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ไปถึงยังรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป
สาระน่ารู้ အခြားသူများနဲ့ဆက်စပ်မှု