ประโยคที่ว่า “โลกของเราประกอบด้วยน้ำ 70%” แท้จริงแล้วมีเพียง 3% หรือน้อยกว่านั้นที่เป็นน้ำจืด และ 2.5% ของน้ำจืดนั้นแข็งตัว ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ดังนั้นจึงมีน้ำจืดเพียง 0.5% ที่จะมาหล่อเลี้ยงระบบนิเวศและคนทั้งโลก
source: the United Nations Water, retrieved from
จริงอยู่ที่ว่าทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรหมุนเวียนและไม่มีวันหมด แต่จะมีให้ใช้หรือไม่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
ทว่าปัจจุบันเรากำลังเผชิญภาวะขาดน้ำ อันมาจาก 3 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่
คุณภาพน้ำ – การปนเปื้อนของสารพิษ/สารเคมี/ปฏิกูลในแหล่งน้ำ ทั้งที่มาจากภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือนและการเกษตร การปนเปื้อนของแหล่งน้ำอันมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ อาทิเช่น อุทกภัย ล้วนมีส่วนทำให้แหล่งน้ำจืดซึ่งควรจะสามารถนำมาใช้บริโภคดื่มกินได้ปนเปื้อน จนไม่สามารถบริโภคได้อีกต่อไป
การเข้าถึงแหล่งน้ำ – การเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดเพียงพอต่อการบริโภคก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ
การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองและไม่มีระบบการบริหารจัดการน้ำที่ดี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ/ประเทศนั้นๆ – ทรัพยากรอย่างน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่ใช้ไม่หมดสิ้น หากมีการใช้และบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้ เราเองก็ได้เรียนมาไม่มากก็น้อยแล้วว่าวิธีการประหยัดน้ำในครัวเรือนทำได้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ในปัจจุบันยังได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการประหยัดน้ำ อย่างไรก็ตามยังมีน้ำอีกประเภทหนึ่งที่เราอาจจะหลงลืมไป นั่นคือ Virtual water หรือ น้ำเสมือน Virtual water หรือ น้ำเสมือน คือ น้ำที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังเช่นตัวอย่างด้านล่างนี้
ข้อมูลจาก National Geographic
ในภาวะอากาศร้อนเช่นนี้ น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการรักษาสมดุลย์ของระบบในร่างกาย หลายๆ คนอาจจะเลือกที่จะเข้าไปซื้อน้ำขวดจากร้านสะดวกซื้อ แต่รู้หรือไม่ว่า น้ำหนึ่งลิตรที่คุณซื้อนั้น จริงๆ แล้วเท่ากับน้ำ 3 ลิตร
กล่าวคือ กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้น้ำออกมา 1 ขวดลิตรต้องใช้ ต้องใช้ปริมาณน้ำสามเท่า หรือมากกว่า ปริมาณน้ำในขวดนั้นๆ ดังนั้นการซื้อน้ำเพื่อมาบริโภคหนึ่งขวด เท่ากับเรากำลังซื้อน้ำที่ใช้ในการผลิตด้วยในปริมาณอีก 2 ขวดจึงเท่ากับว่าเรากำลังบริโภคน้ำทั้งหมด 3 ขวด ทั้งๆ ที่จริงแล้วทางกายภาพเราบริโภคน้ำเพียง 1 ขวดเท่านั้น
แต่ 1 = 2 ได้ หากเราเลือกที่จะร่วมมือร่วมใจลดการบริโภคน้ำดื่มจากขวดพลาสติกและหันมาพกกระติกน้ำส่วนตัวแทน
นอกจากจะช่วยประหยัดน้ำที่เสียไปกับการผลิตขวดแล้ว ยังช่วยลดขยะ มลภาวะที่จะอยู่บนโลกของเราไปอีกเป็นร้อยๆ ปีกว่าจะย่อยสลายและส่งผลเสียทั้งต่อตัวมนุษย์และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
นี่เป็นเพียงบทความเล็กๆ ในวันน้ำโลกที่อยากจะเสนอเรื่องน้ำจากมุมเล็กๆ อีกมุมหนึ่งที่อาจจะถูกหลงลืมและกระตุ้นเตือนถึงความสำคัญของการเลือกบริโภค การคิดก่อนตัดสินใจ เพราะการได้มาของสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งหรือการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งย่อมสร้างรอยเท้าน้ำ (Water footprint) ไม่มากก็น้อย
เครดิต: Greenpeace Thailand
ที่มา: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/59013/
content Related article